วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
Cloud Storage
หลายคน คงสงสัยว่า Cloud Storage คืออะไร อธิบายแบบง่ายๆ เลยก็คือ ที่เก็บข้อมูลไว้บนอินเตอร์เน็ต สามารถฝากไฟล์และดึงไฟล์ออกได้อย่างสะดวก โดยต้องใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง ทำให้บริการของ Cloud Storage ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีปัจจัยที่สนับสนุนอย่างการเติบโตของอุปกรณ์โมบายต่างๆ ทั้ง Smart Phone และ Tablet ทำให้สามารถเข้าถึงได้อย่างง่าย ทำให้สามารถรับส่งข้อมูลได้สบายมากขึ้น
ประโยชน์ของการใช้งาน Cloud Storage
• สามารถเข้าถึงไฟล์ต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา
• สามารถเพิ่มขนาดจัดเก็บไฟล์ได้
• คุ้มค่ามากกว่าการซื้ออุปกรณ์จัดเก็บไฟล์อย่างพวกฮาร์ดดิสก์
• ไม่มีความเสี่ยงกับในเรื่องของอุปกรณ์จัดเก็บไฟล์เสีย
• ได้รับบริการเสริมต่างๆ เช่น การสำรองข้อมูล การรับประกันในกรณีข้อมูลสูญหาย เป็นต้น
ข้อเสียของการใช้งาน Cloud Storage
• จำเป็นต้องใช้งานผ่านการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเท่านั้น
• ความปลอดภัยของข้อมูลซึ่งอาจถูกแฮ็กข้อมูลได้
• เสียค่าบริการ ในกรณีที่มีการฝากไฟล์เกินขนาดที่ผู้ให้บริการแต่ละรายกำหนด
ในปัจจุบันนี้มีผู้ให้บริการ Cloud Storage รายใหญ่ๆ จำนวน 4 ราย ซึ่งก็เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว เราไปทำความรู้จักกับบริการ Cloud Storage ของแต่ละรายกันเลยดีกว่าครับ
SkyDrive จาก Microsoft
SkyDrive เป็นหนึ่งในการบริการของ Windows Live (ที่มีการเปลี่ยนจาก Hotmail) ซึ่งทำหน้าที่ Cloud Storage เริ่มให้บริการมานานแล้วแต่ไม่เป็นที่รู้จัก เหตุผลที่ SkyDrive ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก ก็คือ “มาเร็วเกินไป” ในสมัยก่อนยังไม่มีคำว่า Cloud Computing ด้วยซ้ำ อีกทั้งรูปแบบนั้นยังใช้งานยาก แล้วยังจำเป็นที่จะต้องต่อกับอินเตอร์เน็ตทำให้ความสะดวกในการใช้ไม่มีค่อยมีมากนัก มาตอนหลัง Microsoft ได้ปรับปรุงให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยมีพื้นที่เก็บข้อมูลแบบฟรีๆ ถึง 7GB ถือว่าเยอะมากและสามารถเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลฟรีได้มากถึง 25GB นอกจากนี้ยังความสะดวกสบายด้วยการ Sync ข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยรองรับการทำงานได้ทั้งบน PC และ MAC ส่วน APP ในกลุ่มโมบาย แน่นอนว่าจะรองรับ Window Phone เป็นอันดับแรก อีกแพลตฟอร์มคือ iOS ส่วน Android ไม่ต้องน้อยใจไป เชื่อว่าตอนนี้ กำลังมีการพัฒนาออกมาให้อยู่
Google Drive จาก Google
อีกหนึ่งเจ้ารายใหญ่ทางอินเตอร์เน็ตอย่าง Google ก็ได้เริ่มสร้างกระแสบริการ Cloud Storage ขึ้นมาในชื่อ Google Drive ที่อัพบริการจาก Google Docs ซึ่งมีพื้นที่ที่ให้บริการทั้งหมด 5GB สามารถเข้าได้ทั้งทางเว็บในเวอร์ชั่น Windows และ MAC OS X และอุปกรณ์แท็บเล็ตแบบ Android ก็สามารถเข้าไปแชร์ไฟล์และโฟลเดอร์ได้อย่างอิสระ
iCloud จาก Apple
Apple iCloud หรือ iCloud ที่เรารู้จักกันก็เป็นบริการแบบ Cloud Storage เช่นกัน โดย iCloud ก็มีพื้นที่ที่จะให้บริการทั้งหมด 5GB สามารถเข้าได้ทั้งทาง ไอแพด ไอโฟนและยังสามารถเข้าได้ทางคอมพิวเตอร์แต่ถ้าจะใช้งานเราก็จะต้องมี Apple ID และอนุญาตให้เก็บไฟล์ข้อมูลฟรีเป็นบางประเภทเท่านั้น เช่น รูปภาพ ถ้าต้องการที่จะเก็บไฟล์รูปแบบอื่นท่านก็ต้องไปโหลด แอพพลิเคชั่นต่างหากและไม่มี feature แชร์ไฟล์หรือโฟลเดอร์ใดๆ
Dropbox
Dropbox ให้บริการพื้นที่เก็บฟรี 2GB และสามารถใช้ได้สูงสุดถึง 5GB โดยที่เราต้องทำตามเงื่อนไขของ Dropbox และสามารถเข้าใช้งาน Dropbox ได้ในระบบคอมพิวเตอร์เวอร์ชั่น Windows, MAC OS X และ Linux และอุปกรณ์มือถืออย่าง Smart Phone, Tablet ทั้ง iOS , Android และ BlackBerry นอกจากนี้ยังสามารถแชร์ไฟล์และโฟลเดอร์ได้
เปรียบเทียบการให้บริการ Cloud Storage ทั้ง 4 ราย
การให้บริการฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
SkyDrive
iCloud
Google Drive
Dropbox
พื้นที่จัดเก็บออนไลน์ (ฟรี)
7 GB
5 GB*
5 GB
2 GB
อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ใช้งานได้
* iCloud อนุญาตให้เก็บไฟล์ฟรีได้เฉพาะไฟล์บางประเภทเท่านั้น อย่างเช่น รูปภาพ ในกรณีต้องการเก็บไฟล์เอกสาร iWork ในระบบ iCloud ผู้ใช้ต้องซื้อ iWork App เพิ่ม
ในกรณีถ้าผู้ใช้ต้องการบริการพื้นที่จัดเก็บไฟล์เพิ่มเติมจากที่ให้บริการแบบฟรี ผู้ใช้ก็สามารถรับบริการเพิ่มเติมจากเดิมได้แต่ต้องเสียค่าบริการ โดยมีอัตราค่าบริการดังนี้
SkyDrive คิดอัตราบริการต่อปีถูกที่สุด โดยมีพื้นที่ความจุให้เลือก 3 ขนาด คือ
• 20 GB อัตราค่าบริการประมาณ 300 บาท (10$)
• 50 GB อัตราค่าบริการประมาณ 750 บาท (25$)
• 100 GB อัตราค่าบริการประมาณ 1,500 บาท (50$)
Apple iCloud คิดอัตราบริการต่อปี โดยมีพื้นที่ความจุให้เลือก 2 ขนาด คือ
• 20 GB อัตราค่าบริการประมาณ 1,200 บาท (40$)
• 50 GB อัตราค่าบริการประมาณ 3,000 บาท (100$)
Google Drive มีพื้นที่ความจุให้เลือกขนาดเดียวคือ
• 100 GB อัตราค่าบริการประมาณ 1,800 บาท (60$) ต่อปี
Dropbox คิดอัตราบริการต่อปี โดยมีพื้นที่ความจุให้เลือก 2 ขนาด คือ
• 50 GB อัตราค่าบริการประมาณ 2,970 บาท (99$)
• 100 GB อัตราค่าบริการประมาณ 5,790 บาท (199$)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น