www.yahoo.com
วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
E-Mail (Electronic Mail) - จดหมายอิเลคทรอนิกส์ คืออะไร
E-mail
E-Mail (Electronic Mail) - จดหมายอิเลคทรอนิกส์ คืออะไร
คือจดหมายอิเลคทรอนิกส์ ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์บางแห่งใช้เฉพาะภายใน บางแห่งใช้เฉพาะภายนอกองค์กร (สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ internet) การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม word จากนั้นก็คลิกคำสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า Email Address เป็นหลักในการรับส่ง
รูปแบบชื่อ Email Address yourname@it-guides.com
1. yourname คือ ชื่อของคุณ สามารถตั้งเป็นชื่ออะไรก็ได้
2. เครื่องหมาย "@" สำหรับกั้นระหว่าง ชื่อ กับ ชื่อเวปไซท์ หรือ domain name
3. it-guides.com คือ ชื่อเวปไซท์ หรือ domain name
ชนิดของการรับส่ง E-mail
1. รับส่งโดยใช้โปรแกรม Email โดยเฉพาะ เช่น Outlook Express, Eudora
2. รับส่งโดยผ่าน Web site เช่น www.yahoo.com, www.hotmail.com
3. รับส่งโดยผ่าน Web Browser เช่น Netscape, IE เป็นต้น
การรับส่ง Email โดยปกติจะต้องมีการกำหนด Configuration เพื่อกำหนด Incoming Mail และ Outgoing Mail Server ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยากในการ check mail เนื่องจากบางคนไม่ได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นของตนเอง หรือบางคนอาจจะต้องเดินทางบ่อย ๆ ทำให้ไม่ค่อยสะดวก ดังนั้น แบบที่ 2 คือ check email ผ่าน Web site จึงมีผู้นิยมมากที่สุดในโลก เนื่องจากไม่จำเป็นต้องกำหนด Configuration อะไรทั้งสิ้น แค่เพียงคุณสมัครเป็นสมาชิกกับ Web site ที่ให้บริการ แค่จำชื่อ User และ Password เท่านั้น คุณก็สามารถจะตรวจสอบ Email ได้จากที่ต่าง ๆ ทั่วโลก... (การลงทะเบียนเพื่อขอ E-mail แบบที่ 2 นี้จะเป็นการให้บริการฟรี!)
ประโยชน์ของ E-Mail
1.รวดเร็ว เชื่อถือได้
2.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง และลดการใช้กระดาษ
3.ลดเวลาในการส่งเอกสารลง เพราะผู้ส่งไม่ต้องเสียเวลาไปส่งเอง หรือรอไปรษณีย์ไปส่งให้
4.ผู้ส่งสามารถส่งเอกสารได้ตลอดไม่จำกัดเวลา หรือระยะทางในการส่ง ในขณะที่ผู้อ่านก็สามารถเปิดอ่านเอกสารได้ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน
5.สามารถส่งต่อกันได้สะดวก และผู้ส่งสามารถส่งให้ผู้รับได้พร้อมๆกันหลายคนในเวลาเดียวกัน
ประเภทของอีเมล์
เว็บไซต์ที่ให้บริการฟรีอีเมล์มีอยู่มากมาย แต่ถ้าหากจะแยกประเภทของการใช้งาน สามารถแยกออกได้เป็น 2 แบบดังนี้
E-Mail แบบ POP
เป็น E-Mail อีกชนิดหนึ่ง ที่มีความสะดวกในการใช้งาน มาก เนื่องจากสามารถเช็คเมล์ได้จาก software เช็คเมล์ใดก็ได้ แต่ผู้ใช้จะต้องทำการ setup ใช้งานเอง เช่น การเซ็ทค่า incoming mail server ค่า outgoing mail server และอื่นๆ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานอย่างดี สำหรับท่านที่คิดจะมี web site เป็นของตัวเองในโอกาสต่อไป เนื่องจากจะมีการใช้งานเมล์แบบนี้หมด และเมื่อถึงวันนั้นก็คงจะช่วยกัน โกยเงินดอลลาร์เข้าบ้านเรามั่ง ส่วนข้อดีของเมล์แบบนี้ จะสามารถเช็คเมล์ได้รวดเร็ว สะดวก ไม่มีขยะปนมากับเนื้อหาที่สำคัญไม่ต้องเข้ามาที่ web site นี้บ่อยๆ สามารถ insert ไฟล์ได้
ลักษณะของ POP
- ใช้โปรแกรมเฉพาะ เช่น Eudora หรือ Netscape mail เป็นต้น
- เครื่องที่ใช้อ่าน E-Mail มักเป็นเครื่องส่วนตัว
- มีคนนิยมใช้กันเกือบครึ่งโลก
- บางแห่งยังให้บริการทั้ง telnet, POP และ IMAP
- Server ที่ให้บริการมักเป็นระบบ UNIX หรือ LINUX
E-Mail แบบ WEB Based
E-Mail แบบ Web based เป็น E-Mail แบบที่เรารู้จักกันเช่น hotmail.com yahoo.com chaiyo.com หรือแม้แต่ thaiall.com ก็ยังเป็น Web based email เพราะผู้ให้บริการพอใจ ที่จะให้บริการมากกว่า POPเนื่องจากการอ่าน หรือส่ง mail ผู้ใช้บริการจะต้องเข้ามายังเว็บของผู้ให้บริการทุกครั้ง ต่างกับ pop ที่ผู้ใช้บริการ สามารถใช้โปรแกรมดูดmail ไปอ่าน โดยไม่ต้องเข้าเว็บของผู้ให้บริการแต่อย่างใด
ลักษณะของ WEB Based
- เปิด email จากที่ใดก็ได้
- ใช้ browser ตัวใดก็ได้ เปิดอ่าน mail
- มีคนนิยมใช้กันเกือบครึ่งโลก
- เช่น hotmail.com chaiyo.com หรือ thaiall.com
วิธีการใช้งานทั่วไป
1. TO - หมายถึง ชื่อ Email สำหรับผู้รับ
2. FROM - หมายถึง ชื่อ Email สำหรับผู้ส่ง
3. UBJECT - หมายถึง หัวข้อเนื้อหาของจดหมาย
4. CC - หมายถึงสำเนา Email ฉบับนี้ไปให้อีกบุคคลหนึ่ง
5. BCC - หมายถึงสำเนา Email ฉบับนี้ไปให้อีกบุคคลหนึ่ง แต่ผู้รับ (TO) จะไม่ทราบว่าเรา
สำเนาให้ใครบ้าง
6. ATTACHMENT - ส่ง file ข้อมูลแนบไปพร้อมกับ Email
เทคนิคการใส่ขื่อ Email
1. ปกติชื่อ Email ประกอบด้วย yourname@it-guides.com เป็นต้น แต่เราสามารถใส่ชื่อ
ของเราเพิ่มเข้าไปได้ด้วย ดังตัวอย่างSomsri "yourname@it-guides.com"
2. การส่ง Email พร้อมกันหลายคน เราสามารถส่งโดยใช้ช่อง CC ได้ หรือถ้าต้องการส่ง
ในช่อง TO หลายคน เราสามารถใส่เครื่องหมายคอมม่า "," แยกระหว่าง Email ได้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น